วันนี้เราจะพามาดูความสำเร็จของบุคคลต่างๆที่ได้มาทำธุรกิจ การปลูกผักไฮโดโปรนิกส์นี้
ในช่วงปี 2015 นี้ กระแสความนิยมในการบริโภคอาหารประเภทพืชผัก-ผลไม้ ก็ยังคงแรงดีไม่มีตก เนื่องมาจากเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังฮอตโดนใจหนุ่มสาวยุคใหม่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุที่เริ่มหันกลับมาใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยสภาวะโรคภัยไข้เจ็บที่มีมากมายในปัจจุบัน จึงทำให้ธุรกิจด้านการเกษตรเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน และหนึ่งในธุรกิจที่น่าจับตามอง ณ เวลานี้ คงต้องพูดถึง “การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์”
ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีสำหรับหลักสูตร “การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์เบื้องต้น” ของ อาจารย์ปกรณ์ พิสุทธิ์ชาน (อาจารย์เอก) วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แถวหน้าของเมืองไทย และเป็นนักธุรกิจคนเก่งที่ประสบความสำเร็จ ในกิจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (ผักไร้ดิน) ภายใต้ชื่อ ไฮโดร ฮ็อบบี้ ที่ได้มาร่วมจัดอบรมกับมติชนอคาเดมี จนได้รับกระแสตอบกลับอย่างดีจากผู้เรียนหลากหลายรุ่น จนสามารถสร้างเครือข่าย และสร้างธุรกิจให้กับลูกศิษย์หลายคนประสบความสำเร็จมาได้จนถึงปัจจุบันนี้
เช่นเดียวกันกับ “Atena Farm : อธีน่าฟาร์ม” ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากคอร์สเรียนนี้เช่นกัน
“Atena Farm : อธีน่าฟาร์ม” หนึ่งในฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์น้องใหม่ย่านบางขุนนนท์ ของ พล.ต.ท. ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี (อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร.) และ คุณวรอนงค์ เทพชาตรี (บุตรสาว) โดยเจ้าของฟาร์มเป็นสองผู้เรียนจากคอร์ส “การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์” ของ อาจารย์ปกรณ์ ที่มติชนอคาเดมี ซึ่งหลังจากเรียนจบคอร์สไป ทั้งสองท่านก็เริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับการทำฟาร์มอย่างจริงจัง พร้อมกับได้ที่ปรึกษาอย่าง อาจารย์ปกรณ์ เข้ามาช่วยให้คำชี้แนะตั้งแต่กระบวนการสร้างโรงเรือน และการทำธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม จึงทำให้เกิดฟาร์มแห่งนี้ขึ้น และถือได้ว่าเป็นฟาร์มน้องใหม่ไฟแรงย่านบางขุนนนท์ที่น่าจับตามองในขณะนี้เลยทีเดียว
พล.ต.ท. ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี (อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 กล่าวว่า
“แรกเริ่มเดิมทีเดียว ตอนก่อนเกษียณอายุ ผมตั้งใจว่าจะไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย ซึ่งระหว่างนี้เองก็ต้องไปเรียนปริญญาเอกเพิ่ม จนถึงช่วงอายุ 57-58 ปี ก็เรียนจบพอดี หลังจากเกษียณมาก็ได้เข้าสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สอนอยู่ได้ประมาณ 3 ปี ก็รู้สึกว่าไม่ใช่งานที่ตัวเองชอบเท่าใดนัก และอยากลองทำอย่างอื่นมากกว่า
“จึงออกมาพัก คิดทบทวนตัวเองอยู่ 1 ปี คุณวรอนงค์ เทพชาตรี (บุตรสาว) ก็ชวนไปเรียนคอร์ส “การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์” ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (MATICHON Academy) โดยส่วนตัวเป็นคนชอบทานผักสลัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงสนใจและลองสมัครเข้ามาอบรมดู ทำให้พบว่า การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์นั้น มันมีปัจจัยหลายอย่างเหมือนกัน แต่ด้วยความชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หลังจบคอร์สเรียนจึงตัดสินใจลงทุนทำฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์เลยในทันที โดยได้อาจารย์ปกรณ์ วิทยากรในคอร์สเรียนนี้ที่คอยเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการของฟาร์ม รวมไปถึงการทำการตลาด และการจัดจำหน่ายด้วย”
“ตอนแรกก่อนจะเปิดฟาร์ม ค่อนข้างกังวลมากอยู่เหมือนกัน เพราะพื้นฐานเราทำงานเกี่ยวกับราชการมาก่อน ทำให้กังวลเรื่องของการตลาด และการทำธุรกิจ จึงชวนอาจารย์ปกรณ์แวะมาดูสถานที่ พร้อมพูดคุยแนวทางการทำฟาร์ม พออาจารย์ปกรณ์เห็นพื้นที่ ก็แนะนำว่าทำได้เลย เพราะพื้นที่กว้างขวาง อากาศถ่ายเท มีแสงแดดเพียงพอ เหมาะสมในการทำฟาร์มผักแน่นอน ตนจึงตัดสินใจลองเริ่มลงทุนจาก 14 โต๊ะก่อน ใช้เงินทุนโดยประมาณ 500,000 บาท ไม่รวมกับการปรับพื้นที่ดิน และจิปาถะอื่นๆ ซึ่งจากการศึกษามาเรื่อยๆ ก็พบปัญหาเล็กน้อย เช่น พื้นที่ปลูกผักมีแสงแดดไม่เพียงพอ แต่ก็ได้อาจารย์ปกรณ์คอยแนะนำและชี้แนะแนวทางแก้ไขให้มาโดยตลอด ทำให้การทำฟาร์มของผมค่อนข้างราบรื่นและมีปัญหาน้อย ส่วนหนึ่งก็ต้องบอกว่า เราโชคดีที่ได้ที่ปรึกษาที่มีความรู้ และคอยช่วยเหลือเรามาโดยตลอด อย่างอาจารย์ปกรณ์”
บนพื้นที่ขนาดใหญ่ ภายในฟาร์มแห่งนี้เราจะพบกับพันธุ์ผักไฮโดรโปนิกส์ยอดนิยมหลากหลายสายพันธุ์ โดยภายในฟาร์มจะเน้นปลูกเพื่อจำหน่ายอยู่ 7 ชนิด ก็คือ กรีนโอ๊ค (green oak), เรดโอ๊ค (red oak), บัตเตอร์เฮด (butter head), บัตตาเวีย (batavia), เรดคอรัล (red coral), ฟิลเล่ซ์ไอส์เบิร์ก (frillice iceberg), กรีนคอส (green cos) ซึ่งผักเหล่านี้จะมีลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรแวะเวียนมารับไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ลูกค้าก็จะนำไปทำเป็นผักสลัด และมีบางส่วนนำไปจำหน่ายปลีกอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจุดเด่นของผักที่ฟาร์มแห่งนี้ก็คือ ความสด-ใหม่-สะอาด และไม่นำผักที่ยังไม่พร้อมจำหน่ายมาขายให้กับลูกค้า ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของจรรยาบรรณของทางฟาร์มที่มีให้กับลูกค้าทุกคน
คุณวรอนงค์ กล่าวว่า “สำหรับปัญหาหลักของเราในเวลานี้ ก็คือ ผักไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย เพราะความต้องการของลูกค้ามีมาก ทำให้เราต้องเร่งปลูกผักให้ไวขึ้น จากเดิมที่เราจะเพาะต้นกล้าในทุกๆ 7 วัน ก็ต้องร่นเวลาลงมาให้ไวขึ้น เพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้า โดยปกติเราจะขายผักได้วันหนึ่งเกือบๆ 10 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถจำหน่ายได้ถึง 20 กิโลกรัม ถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดีทีเดียว”
“ความประทับใจในคอร์สการเรียนการสอนของมติชนอคาเดมีนั้น ต้องบอกว่า หลักสูตรการเรียนการสอนของที่นี่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ และดีมากๆ วิทยากรก็ให้ความรู้แบบเต็มที่ไม่มีกั๊ก และยังมีชุดทดลองการปลูกพืชผักไฮโดรโปนิกส์ให้กับผู้เรียนมาทดลองปลูกอีกด้วย ซึ่งจุดนี้เองถือเป็นการจุดประกายให้เราได้ลองเริ่มต้น พร้อมกับได้ลองทำจริง จนสามารถมองเห็นแนวทางในการประกอบธุรกิจในอนาคตได้ ซึ่งต้องขอบคุณอาจารย์ปกรณ์ ที่ช่วยจุดประกายแนวทางการทำธุรกิจมา ณ จุดนี้ด้วยค่ะ” คุณวรอนงค์ กล่าว
หลายคนเริ่มต้นการทำธุรกิจมาจาก “ความชอบ” บางคนก็เริ่มทำธุรกิจมาจาก “ความรัก” แต่แน่นอนว่าเป้าหมายปลายทางของทุกคนคือ ธุรกิจที่ทำสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และมีกำไร ก็น่าจะถือได้ว่า คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจขั้นต้นแล้ว
เผื่อใครไปเที่ยวเขาค้อ...แวะไปนะคะ
หนาวนี้ ปีนภู...ดูผักไฮโดรโพนิกส์...
แหล่งใหญ่ของประเทศ...ที่เขาค้อ...
หนาวนี้ ปีนภู...ดูผักไฮโดรโพนิกส์...
แหล่งใหญ่ของประเทศ...ที่เขาค้อ...
ขึ้นชื่อเรื่องก็คงจะทราบแล้วว่าเราจะไปปืนเขากัน และเขาค้อในวันนี้ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตที่ติดอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวที่หลงใหลธรรมชาติ ซึ่งที่นี่นอกจากจะมีทิวทัศน์ที่สวยงามของขุนเขาแล้ว เกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านที่นี่ก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ช่วยแต่งเติมสีสันให้เขาค้อน่าสนใจอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแปลงผัก ผลไม้ต่างๆ ที่มองไปสวยงามสุดลูกตา เช่นเดียวกับแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ที่เต็มไปด้วยสีสันที่สวยงามของผักสลัดชนิดต่างๆ ของเขาค้อ สัปปายะพาร์ค ฝีมือของหนุ่มไฟแรง คุณโชษณ กรมกนกภรณ์ หรือคุณป๊อป ที่วันนี้ประสบความสำเร็จกับการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ป้อนให้กับร้านอาหารเลื่องชื่ออย่างซิสเลอร์และห้างสรรพสินค้าอื่นๆ จนทำให้ผักสลัดกลายเป็นผักเศรษฐกิจอีกชนิดของเขาค้อแห่งนี้ไปแล้ว เพราะไม่ใช่เพียงฟาร์มแห่งนี้เท่านั้น คุณป๊อปยังส่งเสริมชาวบ้านให้ปลูกผักสลัดส่งป้อนในรูปแบบของลูกไร่จนสามารถสร้างรายได้สร้างอาชีพใหม่ให้กับชาวบ้านที่นี่ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งมีคนรุ่นใหม่ขึ้นมาทำฟาร์มผักสลัดที่เขาค้ออีกเป็นจำนวนมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่า เขาคือ คือ แหล่งใหญ่ของผักสลัดบ้านเราก็ว่าได้ โดยคาดว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 4,000 โต๊ะปลูก เลยทีเดียว โดยผักสลัดจากที่นี่จะถูกส่งไปจำหน่ายยังกรุงเทพฯ และจังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ๆ ทั้งเชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต สมุย ฯลฯ วันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 10-15 ตัน
จุดเริ่มต้นของฟาร์มผักสลัดบนดอยสูง
คุณป๊อปเล่าถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาสร้างสีสันของผักสลัดในฟาร์มแห่งนี้ว่า ถิ่นฐานของเขาอยู่ที่นี่ ครอบครัวมีอาชีพปลูกผักและผักยอดฮิตที่ปลูกกันมากที่นี่ก็คือกะหล่ำปลี ซึ่งนอกจากคุณพ่อจะปลูกเองแล้วยังรับซื้อผลผลิตของชาวบ้านไปจำหน่ายพร้อมกับส่งเสริมลูกไร่ให้ปลูกกะหล่ำป้อนให้อีกด้วย ตอนหลังมีคนชวนไปลงทุนปลูกกะหล่ำปลีที่ลาวซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า คุณพ่อจึงไปปลูกกะหล่ำที่ลาวอยู่นานนับปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะแม้ต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่า แต่ต้นทุนค่าขนส่งและการจัดการด้านอื่นๆ ก็สูงและมีปัญหาตามมาอีกมาก สุดท้ายก็ต้องถอนสมอกลับบ้าน หลังจากที่ล้มเหลวจากการทำกะหล่ำที่ลาว คิดจะกลับมาเริ่มต้นกับกะหล่ำอีกครั้งที่เขาค้อก็ยากเพราะลูกไร่เดิมหันไปปลูกให้พ่อค้าคนอื่นหมดแล้ว
ส่วนตัวคุณป๊อบเองเรียนจบด้านบริหารจาก ม.กรุงเทพฯ หลังเรียนจบก็ใช้ชีวิตต่อในกรุงเทพฯด้วยการเปิดร้านเช่าวีดีโอภายใต้ลิขสิทธิ์ของ ซึทาญ่า ที่โด่งดังมากเมื่อ 10 กว่าปีก่อน จังหวะที่ครอบครัวไม่รู้จะเดินไปทางไหนก็เป็นจังหวะเดียวกับที่ร้านเช่าวีดีโอของคุณป๊อบเริ่มประสบปัญหา ทั้งคนเช่าน้อยลง คนนิยมซื้อแผ่นซีดีมาดูเองที่บ้านมากขึ้น ค่าลิขสิทธิ์แผ่นซีดีสูง ต้นทุนสูงขึ้นแต่ผลตอบแทนลดลง สุดท้ายคุณป๊อปตัดสินใจหยุดธุรกิจเช่าวีดีโอแล้วกลับมาช่วยครอบครัว
ช่างเป็นความบังเอิญที่วันที่คุณป๊อปไม่รู้จะเดินหน้ายังไง เขาเปิดทีวีเห็นธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เขาเริ่มเห็นทางออกและแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ คุณป๊อปเข้าไปศึกษาข้อมูลการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้ง อินเตอร์เน็ต หนังสือ ตระเวณดูฟาร์มไฮโดรโปนิกส์หลายแห่ง เขาใช้เวลาศึกษาอย่างจริงจังนานกว่าครึ่งปี ก่อนจะตัดสินใจลงทุนอย่างมั่นใจและเต็มไปด้วยความหวังบนพื้นที่ของญาติย่านรังสิต-นครนายก ลงทุนสร้างโรงเรือนกว่า 4 โรงเรือน ด้วยเงินลงทุนหลักล้าน แม้จะศึกษาข้อมูลมาอย่างดีแต่ทุกวันของการทำงานคือการเรียนรู้ในแปลงจริงไปพร้อมกัน และสุดท้ายเขาก็ประสบความสำเร็จ แต่หลังจากที่ผักเริ่มให้ผลผลิตเก็บขายได้เพียง 3 เดือน ก็มีปัญหาเรื่องขโมยสายไฟ จนเกิดความท้อและความไม่ปลอดภัย คุณป๊อปจึงตัดสินใจย้ายกลับมายังบ้านเกิดที่เขาค้อในปี 2553 คุณป๊อปเล่าว่า เขาใช้รถหกล้อ 7-8 คันเพื่อขนอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นโฟมที่มีน้ำหนักเบามากแต่ก็เปลืองพื้นที่ในการขนส่งมาก ส่วนตัวโรงเรือนก็รื้อไปที่เขาค้อทั้งหมด
คุณป๊อปเล่าถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาสร้างสีสันของผักสลัดในฟาร์มแห่งนี้ว่า ถิ่นฐานของเขาอยู่ที่นี่ ครอบครัวมีอาชีพปลูกผักและผักยอดฮิตที่ปลูกกันมากที่นี่ก็คือกะหล่ำปลี ซึ่งนอกจากคุณพ่อจะปลูกเองแล้วยังรับซื้อผลผลิตของชาวบ้านไปจำหน่ายพร้อมกับส่งเสริมลูกไร่ให้ปลูกกะหล่ำป้อนให้อีกด้วย ตอนหลังมีคนชวนไปลงทุนปลูกกะหล่ำปลีที่ลาวซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า คุณพ่อจึงไปปลูกกะหล่ำที่ลาวอยู่นานนับปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะแม้ต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่า แต่ต้นทุนค่าขนส่งและการจัดการด้านอื่นๆ ก็สูงและมีปัญหาตามมาอีกมาก สุดท้ายก็ต้องถอนสมอกลับบ้าน หลังจากที่ล้มเหลวจากการทำกะหล่ำที่ลาว คิดจะกลับมาเริ่มต้นกับกะหล่ำอีกครั้งที่เขาค้อก็ยากเพราะลูกไร่เดิมหันไปปลูกให้พ่อค้าคนอื่นหมดแล้ว
ส่วนตัวคุณป๊อบเองเรียนจบด้านบริหารจาก ม.กรุงเทพฯ หลังเรียนจบก็ใช้ชีวิตต่อในกรุงเทพฯด้วยการเปิดร้านเช่าวีดีโอภายใต้ลิขสิทธิ์ของ ซึทาญ่า ที่โด่งดังมากเมื่อ 10 กว่าปีก่อน จังหวะที่ครอบครัวไม่รู้จะเดินไปทางไหนก็เป็นจังหวะเดียวกับที่ร้านเช่าวีดีโอของคุณป๊อบเริ่มประสบปัญหา ทั้งคนเช่าน้อยลง คนนิยมซื้อแผ่นซีดีมาดูเองที่บ้านมากขึ้น ค่าลิขสิทธิ์แผ่นซีดีสูง ต้นทุนสูงขึ้นแต่ผลตอบแทนลดลง สุดท้ายคุณป๊อปตัดสินใจหยุดธุรกิจเช่าวีดีโอแล้วกลับมาช่วยครอบครัว
ช่างเป็นความบังเอิญที่วันที่คุณป๊อปไม่รู้จะเดินหน้ายังไง เขาเปิดทีวีเห็นธุรกิจปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เขาเริ่มเห็นทางออกและแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ คุณป๊อปเข้าไปศึกษาข้อมูลการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้ง อินเตอร์เน็ต หนังสือ ตระเวณดูฟาร์มไฮโดรโปนิกส์หลายแห่ง เขาใช้เวลาศึกษาอย่างจริงจังนานกว่าครึ่งปี ก่อนจะตัดสินใจลงทุนอย่างมั่นใจและเต็มไปด้วยความหวังบนพื้นที่ของญาติย่านรังสิต-นครนายก ลงทุนสร้างโรงเรือนกว่า 4 โรงเรือน ด้วยเงินลงทุนหลักล้าน แม้จะศึกษาข้อมูลมาอย่างดีแต่ทุกวันของการทำงานคือการเรียนรู้ในแปลงจริงไปพร้อมกัน และสุดท้ายเขาก็ประสบความสำเร็จ แต่หลังจากที่ผักเริ่มให้ผลผลิตเก็บขายได้เพียง 3 เดือน ก็มีปัญหาเรื่องขโมยสายไฟ จนเกิดความท้อและความไม่ปลอดภัย คุณป๊อปจึงตัดสินใจย้ายกลับมายังบ้านเกิดที่เขาค้อในปี 2553 คุณป๊อปเล่าว่า เขาใช้รถหกล้อ 7-8 คันเพื่อขนอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นโฟมที่มีน้ำหนักเบามากแต่ก็เปลืองพื้นที่ในการขนส่งมาก ส่วนตัวโรงเรือนก็รื้อไปที่เขาค้อทั้งหมด
ระบบการปลูกและวิธีการปลูก
โรงเรือนในช่วงแรกที่รังสิตของคุณป๊อปเป็นโรงเรือนที่ทันสมัย ใช้โครงเหล็กทั้งหลัง คลุมด้วยพลาสติกรอบด้าน เป็นโรงเรือนระบบปิด ต้นทุนค่าโรงเรือนจึงค่อนข้างสูง ช่วงแรกคุณป๊อปรื้อโรงเรือนจากรังสิตมาตั้งที่เขาค้อเหมือนยกมาเลย แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้โรงเรือนปิดไม่เหมาะและไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงสำหรับการปลูกผักสลัดในพื้นที่ที่ได้เปรียบด้านสภาพอากาศอย่างเขาค้อ
“เราไม่จำเป็นต้องปลูกผักในระบบโรงเรือนปิดในสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปีอย่างเขาค้อ เราจึงเปลี่ยนมาเป็นโรงเรือนเปิดแทน ทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิตได้มาก ในส่วนของโรงเรือน เราใช้เพียงหลังคาพลาสติก ด้านข้างปล่อยโล่ง โครงสร้างก็เปลี่ยนมาใช้ไม้ไผ่แทน ส่วนเหล็กที่เป็นโครงสร้างของโรงเรือนเดิมก็ถูกดัดแปลงมาเป็นโต๊ะปลูกแทนทั้งส่วนของขาโต๊ะและเหล็กยึดโต๊ะให้แข็งแรงแทน”
ระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ของคุณป๊อป ใช้ระบบรางปลูกแบบ NFT หรือ ซึ่งเป็นระบบน้ำตื้นและเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิคส์ เทคนิคนี้รากพืชจะแช่อยู่ในลำรางที่มีความลาดเอียง 1-3 % มีน้ำหรือสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากพืชแบบบางๆหรือตื้นๆ รางปลูกของคุณป๊อป กว้าง 1.20 เมตร ยาว 12 เมตร (วางราง 2 เส้นต่อกัน รางแต่ละเส้นยาว 6 เมตร) ต้นทุนค่ารางปลูกต่อเส้นประมาณ 500 บาท (ยาว 6 เมตร) 1 โต๊ะปลูกจะมี 480 ต้น (รางปลูก 9 แถว) ต้นทุนค่ารางปลูก 1 โต๊ะก็ประมาณหมื่นกว่าบาท ส่วนของไม้ไผ่ที่ทำโครงสร้างก็ไม่ต้องซื้อเพราะบนเขาค้อมีมหาศาล พลาสติกคลุมหลังคา ผืนละ 3000 บาท ทำได้ 7-8 โต๊ะ อายุการใช้งาน 2 ปีกว่าได้
การปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ของคุณป๊อปเริ่มจากเพาะเมล็ดบนฟองน้ำ 3 วัน จากนั้นนำฟองน้ำ ที่ต้นกล้างอกแล้วมาอนุบาลบนรางปลูกแบบน้ำลึกหรือ DRFT เป็นระบบปลูกที่มีถาดปลูกทำด้วยโฟมเจาะรูปลูกพืช มีระดับของสารละลายธาตุอาหารพืชที่สูง ระดับความสูงของน้ำสารละลายประมาณ 10 ซม. ฟองน้ำกับรากต้องแตะกัน ส่วนในขั้นตอนของการอนุบาลจะใช้เวลาอนุบาล 15 วัน ย้ายต้นกล้าลงใส่ถาดอนุบาลต่ออีก 15 วัน แต่ช่วงนี้ต้องลดระดับน้ำลง ให้มีช่องว่างระหว่างฟองน้ำกับสารละลาย เพื่อหมุนเวียนอากาศ จากนั้นนำไปปลูกในรางปลูกแบบ ระบบน้ำตื้นหรือ แบบ NFT อีก 15 วัน เก็บขายได้แล้ว รวมระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวก็ประมาณ 45 วัน ผักหนึ่งต้นหนักประมาณ 170-250 กรัม สำหรับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ก็จะมีสารละลาย เอ กับสารละลาย บี โดยสารละลาย เอ จะมีธาตุเหล็ก แคลเซียม ส่วนสารละลาย บีก็จะมีโปแตสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งจะต้องปรับสูตรธาตุอาหารในสารละลายให้เหมาะกับผักที่ปลูก ส่วนของระบบน้ำจะเป็นระบบหมุนเวียนน้ำ โดยน้ำจากบ่อปลูกจะหมุนเวียนลงมายังบ่อผสมปุ๋ย มีวาล์วปิด-เปิดน้ำเข้ามายังโต๊ะปลูก สารละลายธาตุอาหารจะให้ทุกวัน
การปลูกเน้นการป้องกันปัญหา โรค-แมลง เพราะถ้าเกิดปัญหาจะแก้ยากกว่าการป้องกัน ปกติแล้วก็จะไม่มีปัญหาอะไรแต่ถ้าเมื่อไหร่มีฝนตกโรคจะตามมาทันทีแม้จะปลูกใต้หลังคาพลาสติกที่ไม่โดนฝนก็ตาม ผักสลัดมักจะเป็นใบจุด ที่นี่จะพ่นสารเคมีป้องกันไว้ก่อน เน้นการใช้สารเคมีที่มีความปลอดภัยสูง ประสิทธิภาพสูง
โดยใช้ เฮดไลน์ แมนโคซ็บ แต่ก่อนเก็บผัก 10 วัน จะหยุดใช้สารเคมีทุกชนิด ส่วนแมลงก็มีบ้างแต่ไม่มาก สารเคมีที่ใช้ก็จะมี เรมแพจ ซัคเซส คุณป๊อปบอกว่าส่วนใหญ่แล้วผักจะมีโอกาสเสียหายมากในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล อย่างร้อนมาหนาว ร้อนมาฝน ตรงนี้ต้องควบคุมน้ำให้ดี บางรายมีปัญหารากเน่าโคนเน่า ปัญหานี้เกิดจากอุณหภูมิของน้ำสูงเกินไป จึงทำให้ผักสลัดที่ปลูกระบบไฮโดรโปรนิกส์ในเขตภาคกลางเสียหายมากในช่วงหน้าร้อน แต่ที่นี่ได้เปรียบเรื่องอากาศ จึงสามารถผลิตผักได้ตลอดทั้งปี
โรงเรือนในช่วงแรกที่รังสิตของคุณป๊อปเป็นโรงเรือนที่ทันสมัย ใช้โครงเหล็กทั้งหลัง คลุมด้วยพลาสติกรอบด้าน เป็นโรงเรือนระบบปิด ต้นทุนค่าโรงเรือนจึงค่อนข้างสูง ช่วงแรกคุณป๊อปรื้อโรงเรือนจากรังสิตมาตั้งที่เขาค้อเหมือนยกมาเลย แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้โรงเรือนปิดไม่เหมาะและไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงสำหรับการปลูกผักสลัดในพื้นที่ที่ได้เปรียบด้านสภาพอากาศอย่างเขาค้อ
“เราไม่จำเป็นต้องปลูกผักในระบบโรงเรือนปิดในสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปีอย่างเขาค้อ เราจึงเปลี่ยนมาเป็นโรงเรือนเปิดแทน ทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิตได้มาก ในส่วนของโรงเรือน เราใช้เพียงหลังคาพลาสติก ด้านข้างปล่อยโล่ง โครงสร้างก็เปลี่ยนมาใช้ไม้ไผ่แทน ส่วนเหล็กที่เป็นโครงสร้างของโรงเรือนเดิมก็ถูกดัดแปลงมาเป็นโต๊ะปลูกแทนทั้งส่วนของขาโต๊ะและเหล็กยึดโต๊ะให้แข็งแรงแทน”
ระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ของคุณป๊อป ใช้ระบบรางปลูกแบบ NFT หรือ ซึ่งเป็นระบบน้ำตื้นและเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิคส์ เทคนิคนี้รากพืชจะแช่อยู่ในลำรางที่มีความลาดเอียง 1-3 % มีน้ำหรือสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากพืชแบบบางๆหรือตื้นๆ รางปลูกของคุณป๊อป กว้าง 1.20 เมตร ยาว 12 เมตร (วางราง 2 เส้นต่อกัน รางแต่ละเส้นยาว 6 เมตร) ต้นทุนค่ารางปลูกต่อเส้นประมาณ 500 บาท (ยาว 6 เมตร) 1 โต๊ะปลูกจะมี 480 ต้น (รางปลูก 9 แถว) ต้นทุนค่ารางปลูก 1 โต๊ะก็ประมาณหมื่นกว่าบาท ส่วนของไม้ไผ่ที่ทำโครงสร้างก็ไม่ต้องซื้อเพราะบนเขาค้อมีมหาศาล พลาสติกคลุมหลังคา ผืนละ 3000 บาท ทำได้ 7-8 โต๊ะ อายุการใช้งาน 2 ปีกว่าได้
การปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ของคุณป๊อปเริ่มจากเพาะเมล็ดบนฟองน้ำ 3 วัน จากนั้นนำฟองน้ำ ที่ต้นกล้างอกแล้วมาอนุบาลบนรางปลูกแบบน้ำลึกหรือ DRFT เป็นระบบปลูกที่มีถาดปลูกทำด้วยโฟมเจาะรูปลูกพืช มีระดับของสารละลายธาตุอาหารพืชที่สูง ระดับความสูงของน้ำสารละลายประมาณ 10 ซม. ฟองน้ำกับรากต้องแตะกัน ส่วนในขั้นตอนของการอนุบาลจะใช้เวลาอนุบาล 15 วัน ย้ายต้นกล้าลงใส่ถาดอนุบาลต่ออีก 15 วัน แต่ช่วงนี้ต้องลดระดับน้ำลง ให้มีช่องว่างระหว่างฟองน้ำกับสารละลาย เพื่อหมุนเวียนอากาศ จากนั้นนำไปปลูกในรางปลูกแบบ ระบบน้ำตื้นหรือ แบบ NFT อีก 15 วัน เก็บขายได้แล้ว รวมระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวก็ประมาณ 45 วัน ผักหนึ่งต้นหนักประมาณ 170-250 กรัม สำหรับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ก็จะมีสารละลาย เอ กับสารละลาย บี โดยสารละลาย เอ จะมีธาตุเหล็ก แคลเซียม ส่วนสารละลาย บีก็จะมีโปแตสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น ซึ่งจะต้องปรับสูตรธาตุอาหารในสารละลายให้เหมาะกับผักที่ปลูก ส่วนของระบบน้ำจะเป็นระบบหมุนเวียนน้ำ โดยน้ำจากบ่อปลูกจะหมุนเวียนลงมายังบ่อผสมปุ๋ย มีวาล์วปิด-เปิดน้ำเข้ามายังโต๊ะปลูก สารละลายธาตุอาหารจะให้ทุกวัน
การปลูกเน้นการป้องกันปัญหา โรค-แมลง เพราะถ้าเกิดปัญหาจะแก้ยากกว่าการป้องกัน ปกติแล้วก็จะไม่มีปัญหาอะไรแต่ถ้าเมื่อไหร่มีฝนตกโรคจะตามมาทันทีแม้จะปลูกใต้หลังคาพลาสติกที่ไม่โดนฝนก็ตาม ผักสลัดมักจะเป็นใบจุด ที่นี่จะพ่นสารเคมีป้องกันไว้ก่อน เน้นการใช้สารเคมีที่มีความปลอดภัยสูง ประสิทธิภาพสูง
โดยใช้ เฮดไลน์ แมนโคซ็บ แต่ก่อนเก็บผัก 10 วัน จะหยุดใช้สารเคมีทุกชนิด ส่วนแมลงก็มีบ้างแต่ไม่มาก สารเคมีที่ใช้ก็จะมี เรมแพจ ซัคเซส คุณป๊อปบอกว่าส่วนใหญ่แล้วผักจะมีโอกาสเสียหายมากในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล อย่างร้อนมาหนาว ร้อนมาฝน ตรงนี้ต้องควบคุมน้ำให้ดี บางรายมีปัญหารากเน่าโคนเน่า ปัญหานี้เกิดจากอุณหภูมิของน้ำสูงเกินไป จึงทำให้ผักสลัดที่ปลูกระบบไฮโดรโปรนิกส์ในเขตภาคกลางเสียหายมากในช่วงหน้าร้อน แต่ที่นี่ได้เปรียบเรื่องอากาศ จึงสามารถผลิตผักได้ตลอดทั้งปี
กำลังการผลิตผัก 12 ตัน/สัปดาห์
ส่งป้อนซิสเลอร์ แมคโคร
ที่นี่จะมีกำลังการผลิตผักประมาณ 12 ตัน/สัปดาห์ โดยจะมีการวางแผนปลูกทุกวัน เพื่อให้ผักที่ปลูกใหม่ทดแทนผักที่ตัดออกจากแปลงตลอด ที่นี่มีโต๊ะปลูกอยู่ 500 โต๊ะ หนึ่งโต๊ะปลูกได้ 480 ต้น รวมรางปลูกทั้งหมดก็จะสามารถปลูกผักได้มากกว่า 2.4 แสนต้นเลยทีเดียว
ผักที่ปลูกมี 6 ชนิด คือ เรดโอ๊ต กรีนโอ๊ต เป็นตัวหลัก รองลงมาเป็น เรดโคเรล กรีนโคเรล บัตเตอร์เฮดและฟิเลย์ ผลผลิตผักที่ฟาร์มจะถูกส่งมาแพ็คที่โรงแพ็คในกรุงเทพฯ ก่อนจะส่งให้กับผู้รับซื้อ โดยตลาดหลัก คือ แมคโครและซิสเลอร์ โดยส่วนของแมคโครจะแพ็คใส่ถุงๆละครึ่งกิโลกรัมและหนึ่งกิโลกรัม ส่งของทุกวันๆละ 300-500 กก. ส่วนของซิสเลอร์ส่งสัปดาห์ละ 1.5-2 ตัน โดยส่งตรงในแต่ละสาขา (ส่งอยู่ประมาณ 20 สาขา) สาขาหนึ่งมียอดสั่งซื้อสัปดาห์ละ 500-600 กก. นอกจากนี้ก็มีตลาดทางใต้ เช่น สงขลา ภูเก็ต ส่งให้กับโรงแรม รีสอร์ท ทางเครื่องบิน สัปดาห์หนึ่งก็ประมาณ 3 ตัน มีลูกค้าร้านอาหารทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านสเต็กอย่างเช่น โชคชัยสเต็กเฮ้าส์ สหรัฐสเต็ก เป็นต้น
สำหรับราคาขายคุณป๊อปบอกว่าแต่ละตลาดราคาไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยก็จะอยู่ที่ 60 บาท/กก. อย่างแมคโครส่ง 87-97 บาท/กก. หักค่าการตลาด 3-5% ราคาขายที่แมคโครก็ 100 กว่าบาท ส่วนราคาขายปลีกลูกค้าทั่วไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 80-90 บาท ขณะที่ต้นทุนต่อ กก. คุณป๊อปบอกว่าเพียง 7-10 บาทเท่านั้น
ฟาร์มผักสลัดของคุณป๊อปนอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับเขาค้อซึ่งกลายเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำแล้ว ฟาร์มแห่งนี้ยังสร้างงานให้กับชาวบ้านที่นี่อีกเป็นจำนวนมาก ที่นี่มีคนงานกว่า 15 คน ค่าแรงคนละ 250 บาท ค่าจ้างคนงานแต่ละเดือน 6-8 หมื่นบาท คุณป๊อปยังมีลูกไร่ที่ผลิตผักสลัดป้อนให้กับที่อีกกว่า 32 รายในปัจจุบัน กำลังการผลิตวันละ 4-5 ตัน ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ซึ่งคุณป๊อบจะป้อนความรู้และเทคโนโลยีให้ทุกอย่าง พร้อมกับรับซื้อผลผลิตคืน ซึ่งปกติแล้วชาวบ้านที่นี่จะมีอาชีพทำไร่ข้าวโพด ปลูกข้าว ปลูกผักทั่วไป ซึ่งมีรายได้เดือนละไม่กี่พันบาท แต่หลังจากมาปลูกผักสลัดชาวบ้านแต่ละรายมีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชาวบ้านอย่างมาก
คุณป๊อปกล่าวทิ้งท้ายว่า ผักสลัดยังเป็นผักที่น่าสนใจในการลงทุนอย่างมาก ตลาดยังเปิดกว้าง คนที่ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์มีจำนวนมากก็จริงแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบความสำเร็จซึ่งนอกจากเรื่องของสภาพอากาศแล้วเรื่องของการจัดการมีส่วนมาก คนทำผักสลัดส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้ลงมือทำเอง ปล่อยให้คนงานทำ โอกาสสำเร็จจึงยาก เพราะการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าประสบความสำเร็จ ผักไฮโดรโปนิกส์จะลงทุนต่ำและให้ผลตอบแทนที่สูงอย่างมาก
ส่งป้อนซิสเลอร์ แมคโคร
ที่นี่จะมีกำลังการผลิตผักประมาณ 12 ตัน/สัปดาห์ โดยจะมีการวางแผนปลูกทุกวัน เพื่อให้ผักที่ปลูกใหม่ทดแทนผักที่ตัดออกจากแปลงตลอด ที่นี่มีโต๊ะปลูกอยู่ 500 โต๊ะ หนึ่งโต๊ะปลูกได้ 480 ต้น รวมรางปลูกทั้งหมดก็จะสามารถปลูกผักได้มากกว่า 2.4 แสนต้นเลยทีเดียว
ผักที่ปลูกมี 6 ชนิด คือ เรดโอ๊ต กรีนโอ๊ต เป็นตัวหลัก รองลงมาเป็น เรดโคเรล กรีนโคเรล บัตเตอร์เฮดและฟิเลย์ ผลผลิตผักที่ฟาร์มจะถูกส่งมาแพ็คที่โรงแพ็คในกรุงเทพฯ ก่อนจะส่งให้กับผู้รับซื้อ โดยตลาดหลัก คือ แมคโครและซิสเลอร์ โดยส่วนของแมคโครจะแพ็คใส่ถุงๆละครึ่งกิโลกรัมและหนึ่งกิโลกรัม ส่งของทุกวันๆละ 300-500 กก. ส่วนของซิสเลอร์ส่งสัปดาห์ละ 1.5-2 ตัน โดยส่งตรงในแต่ละสาขา (ส่งอยู่ประมาณ 20 สาขา) สาขาหนึ่งมียอดสั่งซื้อสัปดาห์ละ 500-600 กก. นอกจากนี้ก็มีตลาดทางใต้ เช่น สงขลา ภูเก็ต ส่งให้กับโรงแรม รีสอร์ท ทางเครื่องบิน สัปดาห์หนึ่งก็ประมาณ 3 ตัน มีลูกค้าร้านอาหารทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านสเต็กอย่างเช่น โชคชัยสเต็กเฮ้าส์ สหรัฐสเต็ก เป็นต้น
สำหรับราคาขายคุณป๊อปบอกว่าแต่ละตลาดราคาไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยก็จะอยู่ที่ 60 บาท/กก. อย่างแมคโครส่ง 87-97 บาท/กก. หักค่าการตลาด 3-5% ราคาขายที่แมคโครก็ 100 กว่าบาท ส่วนราคาขายปลีกลูกค้าทั่วไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 80-90 บาท ขณะที่ต้นทุนต่อ กก. คุณป๊อปบอกว่าเพียง 7-10 บาทเท่านั้น
ฟาร์มผักสลัดของคุณป๊อปนอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับเขาค้อซึ่งกลายเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำแล้ว ฟาร์มแห่งนี้ยังสร้างงานให้กับชาวบ้านที่นี่อีกเป็นจำนวนมาก ที่นี่มีคนงานกว่า 15 คน ค่าแรงคนละ 250 บาท ค่าจ้างคนงานแต่ละเดือน 6-8 หมื่นบาท คุณป๊อปยังมีลูกไร่ที่ผลิตผักสลัดป้อนให้กับที่อีกกว่า 32 รายในปัจจุบัน กำลังการผลิตวันละ 4-5 ตัน ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ซึ่งคุณป๊อบจะป้อนความรู้และเทคโนโลยีให้ทุกอย่าง พร้อมกับรับซื้อผลผลิตคืน ซึ่งปกติแล้วชาวบ้านที่นี่จะมีอาชีพทำไร่ข้าวโพด ปลูกข้าว ปลูกผักทั่วไป ซึ่งมีรายได้เดือนละไม่กี่พันบาท แต่หลังจากมาปลูกผักสลัดชาวบ้านแต่ละรายมีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชาวบ้านอย่างมาก
คุณป๊อปกล่าวทิ้งท้ายว่า ผักสลัดยังเป็นผักที่น่าสนใจในการลงทุนอย่างมาก ตลาดยังเปิดกว้าง คนที่ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์มีจำนวนมากก็จริงแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบความสำเร็จซึ่งนอกจากเรื่องของสภาพอากาศแล้วเรื่องของการจัดการมีส่วนมาก คนทำผักสลัดส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้ลงมือทำเอง ปล่อยให้คนงานทำ โอกาสสำเร็จจึงยาก เพราะการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าประสบความสำเร็จ ผักไฮโดรโปนิกส์จะลงทุนต่ำและให้ผลตอบแทนที่สูงอย่างมาก